I.R. REMOTE CONTROL


Third week
I.R. remote control แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ


แบบแรก-เป็นวงจรง่ายๆ ที่จะทำงานทันทีที่มีแสงจากชุดส่ง ส่งไปถึงชุดรับ
แบบสอง-เป็นวงจรที่ออกแบบให้ใช้งานที่กว้างขวางขึ้น โดยสามารถตั้งโปรแกรมได้ว่าจะต้องให้มีลำ แสง อินฟราเรด ส่องมากี่ครั้งจึงจะทำให้วงจร

วงจรภาคส่งสัญญาณอินฟราเรด


โดยปกติแล้วเมื่อเราป้อนแรงไฟให้กับอินฟราเรดไดโอด ก็จะทำให้ได้แสงอินฟราเรดซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าออกมาแต่ในการใช้งานจริง เราจำเป็นที่จะป้อนสัญญาณพัลซ์ที่มีความถี่ประมาณ 5KHz ให้กับอินฟราเรดไดโอดเพื่อขจัดผลการสัญญาณรบกวนต่างๆ และลดพลังงานที่ป้อนให้กับไดโอดลงด้วย
สำหรับการใช้ภาคส่งชนิดที่มีความแรงสัญญาณสูงมากอาจทำได้ โดยการต่อ เอ้าพุททรานซิสเตอร์พ่วงเข้ามา ทำให้สามารถขับอินฟราเรดไดโอดได้ถึง 3 หลอด
ทั้งนี้ในวงจรค่าความถี่ จะถูกกำหนดด้วยค่า R1, R2 และ C2 โดยที่สัญญาณเอ้าพุทจะมีช่วงสัญญา ออน-ออฟ 1:1
รีซิสเตอร์ R3 เป็นตัวจำกัดปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านอินฟราเรดไดโอด มิให้มีค่าเกิน 50 มิลลิแอมป์
จากวงจรจะเห็นว่า ไอซี 555 ทำหน้าที่เป็นตัวกำเนิดความถี่ 5000 เฮิทซ์ เช่นกัน
เอ้าพุทของไอซีจะป้อนให้กับทรานซิสเตอร์ TR1 เพื่อให้สามารถขับอินฟราเรดไดโอดด้วยกระแสสูงถึง 100 มิลลิแอมป์
รีซิสเตอร์ R3 ในวงจรไม่ควรใช้ค่าต่ำกว่า 3.9 โอห์ม เพราะอาจทำให้ TR1 ชำรุดเสียหายได้
R4 และ LED D4 ต่อไว้เพื่อแสดงให้รู้ว่าวงจรได้รับแรงไฟซัพพลายแล้ว

วงจรภาครับสัญญาณอินฟราเรด


วงจรอินฟราเรดรับชุดใหญ่นี้ เป็นวงจรที่ มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สามารถรับสัญญาณได้จากตัวส่งที่มีระยะทางไกลถึง 10 เมตรเลยทีเดียว การทำงาน สามารถใช้งานได้กับแรงไฟตั้งแต่ 9-12V ในกรณีที่ใช้ไฟ 9V ก็เพียงแต่เปลี่ยนรีเลย์เท่านั้นเอง
วงจรนี้สามารถแบ่งออกเป็นสี่ภาคใหญ่ๆ ได้แก่วงจรรับสัญญาณ, วงจรจัดรูปคลื่น, วงจรหาร, และวงจรขับรีเลย์


การทำงานของวงจร

วงจรภาครับประกอบด้วย ไอซี 1 ซึ่งจะทำหน้าที่รับสัญญาณจาก โฟโต้ไดโอด D1 มาขยายแล้วแปลงแรงไฟตรง ป้อนให้กับ ไอซี 2 เพื่อจัดรูปคลื่นใหม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ความถี่ในการทำงานของไอซี จะกำหนดด้วยค่า L3,C4 ในที่นี้กำหนดไว้ที่ความถี่ 5000 เฮิทซ์
สัญญาณจะป้อนต่อไปยังวงจรหารความถี่ IC3 ซึ่งสามารถโปรแกรมการหารได้ตั้งแต่ 2-256 โดยการจัดแรงไฟที่ ขาคอนโทรลอินพุท ซึ่งมีอยู่ 8 ขา คือขา 4,5,6,7,10,11,12 และ 13
การตั้งค่าการหารจะเป็นในแบบเลขฐาน 2 โดยกำหนดให้ ลอจิค 1 = ไฟบวก และลอจิค 0 = กราวน์
LED L1 จะเป็นตัวบอกให้รู้ว่ามีสัญญาณเอ้าพุทจากวงจรหารดังกล่าว เอ้าพุทที่ได้จะนำไปป้อนให้กับทรานซิสเตอร์ Q1 ให้ทำงานเพื่อขับรีเลย์ตามต้องการ
LED L2 จะเป็นตัวแสดงให้ทราบถึงสถานะการทำงานของรีเลย์
ในกรณีที่ไม่ต้องการให้สัญญาณผ่านวงจรหาร เราสามารถต่อสวิทซ์ นำสัญญาณจากไอซี 2 ที่ขา 10 ไปขับเอ้าพุททรานซิสเตอร์ Q1 ได้โดยตรง


การสร้าง

ให้ประกอบอุปกรณ์ ตามวงจรทั้งหมดลงบนแผ่นปริ้นด์ ประกอบอุปกรณ์ให้ถูกต้องเป็นใช้ได้ จากนั้นให้ทดลองป้อนแรงไฟให้กับวงจร
สิ่งที่ต้องระวังคือจุดบัดกรีต้องติดสนิทไม่ช๊อตถึงกัน ขั้วอุปกรณ์ต้องถูกต้องไม่สลับขั้วโดยเด็ดขาด
ต่อสวิทซ์เลือกการหารไว้ที่ตำแหน่งโดยตรง แล้วนำสัญญาณจากชุดส่ง ส่องเข้ามาที่ โฟโต้ไดโอด สังเกตุ ดูที่รีเลย์จะทำงาน LED L2 จะติด แสดงว่าวงจรภาครับทำงานปกติ ขั้นต่อไปให้ทดสอบการทำงานของวงจรหาร ให้เลื่อนสวิทซ์ไว้ที่ตำแหน่งหาร
ตั้งค่าการหารให้เป็นวงจรหาร2 ทดลองกดสวิทซ์ที่ตัวส่ง สังเกตุได้ว่าเราต้องกดสวิทซ์ 2 ครั้ง จึงจะเปลี่ยนแปลงสถานะการทำงานของรีเลย์


การตั้งค่าจำนวนนับ

ดังกล่าวแล้วว่าการตั้งค่าจำนวนนับทำได้โดยการป้อนแรงไฟที่ขาคอนโทรลอินพุทแบบเลขฐาน 2 ซึ่งเราได้ออกแบบปรับปรุงใหม่ให้ง่ายขึ้นโดยการต่อดิพสวิทซ์ และรีซิสเตอร์ พุลดาวน์ไว้ที่ลอจิค 0

การติดตั้งและการทำงานของเซนเซอร์



การต่อ Power supply ให้กับวงจรภาคส่ง


การต่อ Power supply ให้กับวงจรภาครับ


การส่งสัญญาณอินฟราเรดจากตัวส่งไปยังตัวรับ









ไม่มีความคิดเห็น: